วันเสาร์ที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2553

โครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure)

สาธารณูปโภค (Public Utilities)
สาธารณูปโภค เรามักจะมีการรวมไปถึงสาธารณูปการหรือการบริการของรัฐในด้านต่างๆ
ดังนั้น จึงน่าที่จะได้ทำความเข้าใจกับความหมายของสาธารณูปโภค ให้ตรงกันคือการประกอบการเพื่อ
ประโยชน์แก่ประชาชนทั่วไป เช่น ไฟฟ้า น้ำประปา โทรคมนาคม ถนน รถไฟ

สาธารณูปการ (Public Facilities)
สาธารณูปการ หมายถึง บริการเพื่อสาธารณะซึ่งดำเนินการโดยองค์กรของรัฐหรือเอกชนโดยการควบคุมของรัฐบาล ซึ่งได้แก่บริการในเรื่องเคหะการ การศึกษา ศาสนา วัฒนธรรม การอนามัย ความปลอดภัย สันทนาการ และบริการอื่น ๆ ตามความต้องการของประชาชน และเป็นกิจการที่ไม่หวังผลกำไร

1.ประเภทของงานสาธารณูปโภค
1.ด้านระบบไฟฟ้า เป็นงานบริการด้านวิศวกรรม สร้างโครงข่ายวางระบบไฟฟ้าให้ประชาชนได้ใช้ถึงบ้าน
2.ด้านระบบน้ำประปา เป็นงานบริการด้านน้ำเพื่อได้ใช้อย่างทั่วทุกพื้นที่
3.ด้านโทรคมนาคม เป็นการสร้างโครงข่ายด้านสื่อสารเพื่อความสะดวกติดต่อสื่อสารต่อกัน
4.ด้านถนน เป็นงานด้านคมนาคมเพื่อความสะดวกในการไปมาหาสู่กันและการขนส่งสินค้า
5.ด้านรถไฟ เป็นงานบริการด้านคมนาคมขนส่งอีกด้านหนึ่ง
2.ประเภทของสาธารณูปการ
สาธารณูปการ มีหลายประเภทและชนิด ซึ่งพอจะสรุปผลได้ดังนี้
1.การบริการ ได้แก่ ศาล ศาลากลาง เทศบาล สถานที่ราชการอื่น ๆ เช่น ที่ทำการไปรษณีย์ สำนักงานแรงงาน
2.วัฒนธรรม ได้แก่ ห้องสมุด พิพิธภัณฑ์ ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม โรงละคร ท้องฟ้าจำลอง
3.การศึกษา ได้แก่ โรงเรียน วิทยาลัย และมหาวิทยาลัย
4.การอนามัย ได้แก่ โรงพยาบาล สถานีอนามัย ศูนย์สาธารณสุข
5.เคหะการ ได้แก่ โครงการเคหะการ
6.สันทนาการ ได้แก่ สวนสาธารณะ สนามกีฬา

3.ปัญหาในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานข้อจำกัดด้านงบประมาณ
การก่อสร้างและบำรุงรักษาระบบสาธารณูปโภค สาธารณูปการต้องใช้เงินจำนวนมาก ในขณะที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีงบประมาณประจำปีจำนวนจำกัด อีกทั้งถูกควบคุมในเรื่องการกู้เงินมาลงทุน และห้ามไม่ให้จัดสรรงบประมาณลงทุนระยะหลายปีติดต่อกัน ท้องถิ่น ส่วนใหญ่จึงต้องไปแย่งชิงเงินอุดหนุนโครงการลงทุนจากรัฐบาล ซึ่งต้องอาศัยเส้นสายพรรคพวกทางการเมืองระดับชาติเป็นหลัก นับเป็นข้อจำกัดที่ท้าทายผู้บริหารท้องถิ่นมากพอสมควร

ข้อจำกัดด้านการบริหารจัดการ
การจัดบริการด้านสาธารณูปโภค สาธารณูปการหลายประเภทสามารถบริหารจัดการโดยใช้กลไกตลาด ให้เอกชนเข้ามาประมูลดำเนินกิจกรรมและเก็บค่าบริการได้ อย่างไรก็ตาม องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นส่วนใหญ่ยังไม่มีความรู้และประสบการณ์ด้านการบริหารจัดการสาธารณูปโภคและสาธารณูปการในเชิงพาณิชย์ ทำให้ไม่กล้าริเริ่มดำเนินการ

ข้อจำกัดด้านความรู้ทางเทคนิค
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีพนักงานจำนวนจำกัด ที่อยู่ก็ยังขาดความรู้ทางเทคนิคที่จำเป็นสำหรับวางแผนและบริหารจัดการระบบสาธารณูปโภค สาธารณูปการพื้นฐานอยู่มาก ทำให้เป็นอุปสรรคต่อการสำรวจออกแบบ ควบคุมและตรวจรับงาน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหลายแห่งไปขอสนับสนุนบุคลากรจากส่วนราชการในพื้นที่มาเป็นพี่เลี้ยง บ้างก็ได้รับการสนับสนุนเป็นอย่างดี แต่บางรายก็ไม่ได้รับการสนับสนุน ทำให้งานขาดคุณภาพ ใช้การไม่ได้ ต้องซ่อมบำรุงรักษาด้วยต้นทุนที่แพงเกินความจำเป็น

ไม่โปร่งใส มีโอกาสคอร์รัปชั่น ผลประโยชน์ทับซ้อน
โครงการก่อสร้าง ปรับปรุง และบำรุงรักษาระบบสาธารณูปโภค สาธารณูปการของรัฐบาลและท้องถิ่นที่ผ่านมาส่วนใหญ่มีเรื่องการคอร์รัปชั่น และผลประโยชน์ทับซ้อนเกิดขึ้นอย่างกว้างขวาง จนทำให้ประชาชนไม่ไว้ใจและต่อต้านโครงการลงทุนในเรื่องเหล่านี้ แม้ว่าจะมีความต้องการบริการฯ อย่างมากก็ตาม การริเริ่มโครงการพัฒนาระบบสาธารณูปโภคและสาธารณูปการและการบริหารจัดการให้สำเร็จลุล่วงไปโดยสมบูรณ์จึงเป็นเรื่องที่ท้าทายผู้บริหารท้องถิ่นมากเช่นเดียวกัน

4.การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
การให้ความสำคัญกับโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ประเภท สาธารณูปโภค สาธารณูปการ เพื่อให้พี่น้องประชาชนที่อยู่ในเขตเทศบาลตำบลแพรกษาได้รับความสะดวกสบายพร้อมทั้งแก้ปัญหาต่าง ๆ โดยมีแนวทางในการดำเนินการ ดังนี้
1.ดำเนินการสร้างระบบสาธารณูปโภคที่จำเป็น อาทิเช่น ถนน ทางเท้า คูระบายน้ำ ท่อระบายน้ำ ในส่วนที่ยังขาดอยู่ให้ครบถ้วนตามกำลังงบประมาณที่มีอยู่ และลำดับความสำคัญให้เป็นไปตามความต้องการของพี่น้องประชาชน
2.ดำเนินการปรับปรุงซ่อมแซมระบบสาธารณูปการ ให้อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ใช้การได้ดีมีประสิทธิภาพ เพื่อ สนองความต้องการของประชาชนได้อย่างเต็มที่
3.ดำเนินการปรับปรุงและขยายเขตระบบไฟฟ้า แสงสว่าง ให้ทั่วถึงเพียงพอกับความต้องการของประชาชน
4.ดำเนินการปรับปรุงระบบจราจร เครื่องหมายจราจร เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้ถนน และเป็นการสร้างความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน

ทิศทางการพัฒนา โครงสร้างพื้นฐาน
1.การเปลี่ยนพฤติกรรมการเดินทางจากการใช้พาหนะส่วนบุคคลไปสู่การใช้ระบบขน ส่งมวลชนและการขนส่งทางราง
วิกฤตพลังงานที่ส่งผลให้พลังงานมีราคาสูงขึ้นมาก รวมทั้งการเกิดสภาวะโลกร้อน ทำให้ประเทศไทยจำเป็นต้องเปลี่ยนพฤติกรรมการเดินทางจากใช้พาหนะส่วนบุคคลไปสู่การใช้ระบบขนส่งมวลชนและการขนส่งทางรางมากขึ้น เพื่อให้เกิดการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพและลดการก่อมลภาวะ ทิศทางการพัฒนาจึงมุ่ง เน้นการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนและการขนส่งทางราง รวมทั้ง สิ่งอำนวยความสะดวกที่เกี่ยวข้องเพื่อส่งเสริมการปรับเปลี่ยน พฤติกรรมการเดินทางและการขนส่งสินค้าไปสู่การเดินทางด้วยระบบสาธารณะและการ ขนส่งในหลายรูปแบบ
2.การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานจากการเชื่อมโยงภายในประเทศสู่การเชื่อมโยง ระหว่างประเทศในอนุภูมิภาค
การรวมตัวกันของกลุ่มประเทศในอนุภูมิภาคส่งผลให้เกิดการเชื่อมโยงโครงข่าย ของระบบโครงสร้างพื้นฐาน โดยเฉพาะเส้นทางคมนาคมในอนุภูมิภาคมากขึ้น ดังนั้น การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในอนาคตของไทยจะมุ่งเน้นการพัฒนาระบบการขนส่งทั้ง ทางบก ทางน้ำและทางอากาศ เพื่อสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจและยกระดับคุณภาพชีวิตของประชากรในอนุภูมิภาค โดยการเร่งรัดโครงการก่อสร้างถนนเชื่อมโยงในพื้นที่แนวเขตเศรษฐกิจต่างๆ ที่อยู่ในระหว่างดำเนินการ ได้แก่ โครงการภายใต้กรอบ GMS
3.การปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้พลังงานจากการใช้พลังงานจากเชื้อเพลิงฟอสซิลสู่พลังงานหมุนเวียนและพลังงานทางเลือก
4.ปรับปรุงกฎระเบียบและการบริหารจัดการโครงสร้างพื้นฐาน
ประเทศไทยยังขาดกฎ ระเบียบ ที่เข้มแข็งในการบริหารจัดการและกำกับดูแลกิจการโครงสร้างพื้นฐาน รวมทั้งยังขาดการปราบปรามคอร์รัปชันที่มีความเข้มแข็งจึงจำเป็นต้องสนับสนุน ให้มีการปรับปรุงกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องและการปรับโครงสร้างการบริหารจัดการ ด้านโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อให้เกิดการบริหารจัดการที่ดีและ มีการกำกับดูแลการให้บริการ โดยมีกฎหมาย กฎระเบียบและ ข้อบังคับเพื่อคุ้มครองผู้บริโภค ที่สอดรับกับเงื่อนไข กฎกติกาการค้าและการลงทุนที่กำหนดโดยการรวมกลุ่มเศรษฐกิจ เพื่อให้การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสามารถขยายการให้บริการไปยังกลุ่มอนุ ภูมิภาค รวมทั้งเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของภาคการผลิตและบริการ
5.ศึกษาวิจัย พัฒนา และถ่ายทอดเทคโนโลยีอย่างเป็นระบบ
ที่ผ่านมาประเทศไทยขาดการส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ ทำให้ต้องพึ่งพาการนำเข้าวัสดุอุปกรณ์เทคโนโลยีจากต่างประเทศซึ่งมีราคาสูง ทิศทางการพัฒนาในระยะต่อไปจะส่งเสริมสนับสนุนให้มีการศึกษาและวิจัย เทคโนโลยีเพื่อให้การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในระยะต่อไปมีความทันสมัยและเป็น มิตรต่อ สิ่งแวดล้อม โดยการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยี สารสนเทศและการสื่อสารที่นำระบบโครงข่ายสื่อสารโทรคมนาคม ไร้สายมาให้บริการครอบคลุมทุกภูมิภาคทั่วประเทศมาใช้ เพื่อสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มและนวัต กรรมที่ทันสมัยให้กับภาคการผลิตและบริการ รวมทั้งเพื่อลดการนำเข้าเครื่องจักรและอุปกรณ์จากต่างประเทศซึ่งจะช่วยให้ ประเทศมีดุลการคลังที่ดีขึ้น

สรุป
ในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อเอื้ออํานวยความเป็นอยู่ที่ดี และประโยชน์สุขของสังคม ตามนโยบาย และแผนพัฒนาที่ปรับเปลี่ยนโดยมูลเหตุจากปัจจัยภายใน และนอกประเทศ อาทิ วิกฤติเศรษฐกิจ ภัยพิบัติ และตระหนักในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ขณะเดียวกัน ยังจําเป็นต้องบํารุงรักษา หรือขยายขีดความสามารถโครงสร้างพื้นฐานเดิม ให้ใช้งานได้ และเกิดประโยชน์สูงสุด โครงสร้างพื้นฐานในอนาคต ต้องมุ่งใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม และยั่งยืน